วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 4

ซอฟต์แวร์(Software)

ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งของคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมสกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้อย่างสื่อหลายชนิด เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟล็ชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
หน้าที่ของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ เราก็ไม่สามารถใช้เคารื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 3ประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
และ ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นระบบโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในจัดการระบบ หน้าที่การทำงานซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระและแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรืนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
System Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดี คือ DOS ,Window,Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในระดับภาษาสูง เช่น ภาษา Basic, Fortean,Pascal,Cobol,C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton's Utilties ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
หน้าที่ซอฟต์แวร์ระบบ
1.ใช้ในการจัดการกับหน่วยเข้ารับและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่ออุปกรณ์เข้ารับและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพง เป็นต้น
2.ใช้ในการจัดหาหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือหน่วยในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3.ใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่งไป แบ่งออกเป็น ระบบปฏิบัติการ และ ตัวแปลภาษา

ประเภทซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
2. ตัวแปลภาษา
1.ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่าโอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้  ระบบปฏิบัติการ ที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี เช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น

1.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
1) ดอส (Disk Operating System : Dos)
2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบุติการที่พัฒนามาจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานพร้อมกันในหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพการใช้งานเน้นรูปแบบกราฟฟิก ผู้ใช้งสนสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏอยู่บนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบบฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
3)ยูนิกซ์ (Unix)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการยูนิกซเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด(Open system)ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณืที่มียี่ห้อเดียวกันยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานที่มีลักษณะผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลาย
ภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซจึงถูกนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานหลายเครื่องพร้อมกัน
4)ลีนุกซ์ (linux)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบที่มีการแจกจ่าย โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เน่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดนเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว
(GNU)
และสิ่งสำคัญที่สุดคือระบบลุนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี(Free ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันวปาร์ค (Sun Sparc) ถึงแม้ว่าขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดว์สบนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
5) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสนำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วยมากนำไปใช้ด้านกรฟฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้สำนักพิมพ์ต่างๆ
นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมายังมีระบบปฏิบัติการอีกมากมาย เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน
ชนิดของระบบปฏิบัติการ สามารถจะแนกตามการใช้งานสามรถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด ด้วยกัน คือ
1. ประเภทการใช้งานเดียว (Singgle-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
2.ประเภทการใช้งานหลายงาน (Multi tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันในหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป และ UNIX เป้นต้น
3.ประเภทใช้งานหลายคน (Multti-user)
ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ UNIX เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น